fbpx สายตาพร่ามัว มองไม่ชัดเกิดจากอะไร ทัศนวิสัยบกพร่อง แก้ไขได้หรือไม่

สายตาพร่ามัว มองไม่ชัดเกิดจากอะไร ทัศนวิสัยบกพร่อง แก้ไขได้หรือไม่

 สาเหตุของการเกิดอาการตาพร่ามัว พร้อมวิธีแก้ตามัวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

        ในบางคนอาจเกิดอาการตามัวบ่อยครั้ง แต่ไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดและไม่ทำการรักษา ซึ่งการปล่อยให้เกิดอาการตาพร่ามัวบ่อยๆ อาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด ในบทความนี้จึงชวนมาดูถึงสาเหตุของการเกิดอาการตาพร่ามัว พร้อมวิธีแก้ตามัวอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

Table of Contents

  1. สายตาพร่ามัวคืออะไร
  2. สาเหตุที่ทำให้เกิดสายตาพร่ามัว
  3. อาการของสายตาพร่ามัวเป็นอย่างไร
  4. อาการของสายตาพร่ามัวที่ควรพบแพทย์
  5. การวินิจฉัยอาการสายตาพร่ามัว
  6. วิธีแก้สายตาพร่ามัว
  7. ผ่าตัดแก้อาการตาพร่ามัว
  8. การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
  9. แนวทางในการป้องกันสายตาพร่ามัว

 

สายตาพร่ามัว คือ สภาวะที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ไม่ความคมชัด

สายตาพร่ามัวคืออะไร

         สายตามัว (Blurry Vision) คือ สภาวะที่ดวงตาไม่สามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน และสูญเสียความคมชัดในการมองไปชั่วคราว อาจมองเห็นเป็นภาพเบลอ ภาพทับซ้อน หรือภาพเลือนราง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือตาทั้งสองข้าง

ตาพร่ามัว มองไม่ชัดเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากค่าสายตาที่ผิดปกติ จากอาการป่วยด้วยโรคต่างๆ

สาเหตุที่ทำให้เกิดสายตาพร่ามัว

         ตาพร่ามัว มองไม่ชัดเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากค่าสายตาที่ผิดปกติ จากอาการป่วยด้วยโรคต่างๆ และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้

สายตาพร่ามัวจากค่าสายตา

         ตาพร่ามัวจากค่าสายตาที่ผิดปกตินั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และลักษณะความพร่ามัวนั้นจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่ามีค่าสายตาแบบใด

  • สายตาสั้น (Myopia) 

เป็นภาวะที่มองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเจน เกิดจากการที่ลูกตามีขนาดยาวกว่าปกติ หรือกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ ทำให้จุดโฟกัสลงที่ด้านหน้าก่อนถึงจอประสาทตา ต้องเพ่งหรือจ้องวัตถุใกล้ๆ เพื่อให้มองเห็นชัดเจนขึ้น หากเพ่งตามากๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อส่วนตาและบริเวณศีรษะเกิดความอ่อนล้า และเกิดอาการตาพร่ามัวได้ 

  • สายตายาว (Hyperopia) 

เป็นภาวะที่มองเห็นวัตถุในระยะใกล้ไม่ชัดเจน แต่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลได้อย่างคมชัด เกิดจากกระจกตาแบนเกินไป หรือขนาดของดวงตาสั้นเกินไปเมื่อเทียบกับความยาวของลูกตา เพราะจุดโฟกัสลงที่ด้านหลังจอประสาทตา ทำให้กล้ามเนื้อส่วนตา จนถึงบริเวณศีรษะเกิดความอ่อนล้า ส่งผลให้เกิดตาพร่ามัว คล้ายกับภาวะสายตาสั้นนั่นเอง

  • สายตาเอียง (Astigmatism) 

คือภาวะที่กระจกตามีความโค้งหรือมีรูปร่างที่ผิดปกติ ทำให้จุดโฟกัสไม่สามารถลงไปที่จอประสาทตาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะทำให้มองสิ่งที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน ร่วมกับการเกิดภาพซ้อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความพร่ามัวในตาได้

  • สายตายาวตามวัย (Presbyopia) 

คือภาวะการมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลไม่ชัดเจน อันเนื่องมาจากอายุที่มากขึ้น ทำให้เลนส์ในตาแข็งตัว กระจกตาและวุ้นในตาเสื่อม  ทัศนวิสัยจึงลดลง และก่อให้เกิดอาการตาพร่ามัวอีกด้วย

สายตาพร่ามัวจากโรค

         สายตาพร่ามัวสามารถเกิดขึ้นได้จากการป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับตา รวมไปถึงโรคบางอย่างที่ไม่เกี่ยวกับโรคทางตา แต่ก็สามารถส่งผลต่อการมองเห็นด้วยเช่นกัน 

  • โรคที่เกี่ยวกับตา

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางตาเหล่านี้ จะสามารถส่งผลให้เกิดตาพร่ามัวได้ เช่น

  • โรคเยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis)  เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือสารเคมีที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ ดวงตาจะหลั่งเมือกขาวออกมาเพื่อระบายสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น จึงส่งผลให้ตาแฉะ ตาแดง และตาพร่ามัวได้
  • โรคเส้นประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis)  เกิดจากการที่เส้นประสาทตาที่นำสัญญาณไปยังสมองเสื่อมลง จึงมีทัศนวิสัยที่แย่ลง และเกิดอาการตาพร่ามัวอย่างเฉียบพลัน โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นกับตาข้างเดียว
  • โรคต้อกระจก (Cataract) คือภาวะที่โปรตีนในเลนส์ตามีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง เกิดเป็นเยื่อบุบางๆ ในตา ทำให้แสงกระทบบนกระจกตาได้น้อยลง จึงทำให้การมองเห็นแย่ลง เห็นภาพซ้อน และเกิดอาการตามัว
  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis) เป็นภาวะที่ทำให้ไม่สามารถลืมตาได้เต็มที่ เนื่องจากแรงยกของเปลือกตาลดลง จนหนังตาหย่อนบดบังตาดำ ส่งผลให้แสงตกกระทบบนกระจกตาได้น้อยลง เกิดเป็นภาพเบลอ ภาพซ้อน หรือตาพร่ามัว

 

  • โรคที่ไม่เกี่ยวกับตา 

หากมีอาการป่วยเป็นโรคเหล่านี้ ก็สามารถส่งผลให้เกิดตาพร่ามัวได้เช่นกัน เช่น

  • ไมเกรน (Migraine) เป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงในสมองคลายตัวฉับพลัน จึงมีอาการปวดศีรษะอย่างมาก และอาจลามไปถึงบริเวณดวงกระบอกตา จนทำให้มองเห็นเป็นภาพมัว หรือเห็นภาพระยิบระยับ
  • ไซนัส (Sinus) ผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบอาจเกิดการอักเสบลุกลามไปยังบริเวณเยื่อบุในตาได้ ทำให้รู้สึกปวดตา ตาแดง ตาพร่ามัว และอาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้
  • โรคเบาหวาน (Diabetes) ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากและสะสมเป็นเวลานาน จนทำให้หลอดเลือดที่จอตาและจุดภาพชัดในตาได้รับความเสียหาย มองเห็นภาพเป็นจุดดำ ภาพบิดเบี้ยว ตามัว และอาจตาบอดได้

สายตาพร่ามัวจากปัจจัยอื่นๆ

         นอกจากการป่วยเป็นโรคทางตา หรือโรคบางชนิดแล้ว พฤติกรรมในชีวิตประจำวันและสภาพร่างกายแต่ละคนยังมีผลต่อการเกิดตาพร่ามัวด้วย ดังนี้

  • ตาแห้ง พฤติกรรมการใช้สายตามากเกินไป เช่น อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ การเล่นโทรศัพท์มือถือมากๆ ทำให้ดวงตาไม่สามารถผลิตน้ำหล่อเลี้ยงตาให้ชุ่มชื้นได้ จนเกิดเป็นตาแห้งและทำให้มองเห็นภาพมัวไปชั่วขณะ
  • การใส่คอนแทคเลนส์  การใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน จะขัดขวางการไหลเวียนของน้ำตาและไปหล่อเลี้ยงกระจกตาได้น้อยลง ทำให้เกิดการระคายเคือง ตาแดง ตามัว และติดเชื้อได้ง่าย
  • การทำเลสิก การทำเลสิกแบบไร้ใบมีดจะเป็นการใช้เลเซอร์ตลอดขั้นตอนการทำ ซึ่งเลเซอร์ จะทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อการมองเห็น คือ มองเห็นเป็นภาพเบลอ ภาพมัว หรือเจ็บปวดบริเวณที่ทำ
  • การตั้งครรภ์ ผู้ที่ตั้งครรภ์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน เกิดผลข้างเคียงที่ทำให้ร่างกายเพิ่มแหล่งสะสมน้ำมากขึ้น ส่งผลให้ตาบวมและตาพร่ามัวได้

สายตาพร่ามัวจะมีอาการ มองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลได้ไม่ชัดเจน 

อาการของสายตาพร่ามัวเป็นอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว สายตาพร่ามัวจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • มองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลได้ไม่ชัดเจน 
  • รูม่านตาปรับตัวได้ไม่เต็มที่ ในเวลากลางวันจึงเกิดภาวะดวงตาไม่สู้แสง และในเวลากลางคืนคุณภาพการมองในที่มืดจะลดลง
  • ปวดศีรษะ ไม่สามารถโฟกัสบริเวณโดยรอบได้
  • เกิดการระคายเคืองในตา ตาแห้ง มีขี้ตา
  • มองเห็นสีจางลง แยกแยะสีได้ลำบากขึ้น
  • มองเห็นภาพเป็นจุดดำๆ ลอยไปมาบริเวณกรอบจอตา

อาการของสายตาพร่ามัวที่ควรพบแพทย์

         หากมีอาการตาพร่ามัวจนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เห็นภาพซ้อน มีอาการปวดศีรษะเมื่อโฟกัสนานๆ หรือเห็นความผิดปกติในดวงตา เช่น เลนส์ตามีความขุ่นมัว บริเวณตาขาวเป็นสีแดงก่ำ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดอาการตาพร่ามัวสะสม จนกลายเป็นโรคร้ายแรงและสูญเสียการมองเห็นในภายหลังได้

ในการวินิจฉัยอาการตามัว มีวิธีการตรวจสอบสายตา ความดันลูกตา

การวินิจฉัยอาการสายตาพร่ามัว

         ในการวินิจฉัยอาการตามัว จะใช้เครื่องมือ 4 ประเภท มีวิธีการตรวจสอบ 4 วิธี ดังต่อไปนี้

  • การตรวจสายตา เป็นการใช้แบบทดสอบสายตา เพื่อวัดประสิทธิภาพของดวงตาแบบภาพรวม มีทั้งแบบทดสอบการมองเห็นสี การทดสอบลานสายตา การอ่านแผ่นวัดสายตา Snellen Chart
  • การตรวจวัดความดันลูกตา เป็นการตรวจวัดความสมดุลของการสร้างของเหลวในตา ที่ใช้ในการระบายของเหลือออกจากตา ซึ่งจะช่วยในการประเมินโอกาสการเกิดโรคทางตาต่างๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะตาพร่ามัวได้
  • การตรวจตาด้วย Slit-lamp เป็นการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ ที่สามารถมองเห็นส่วนต่างๆ ของดวงตาได้อย่างชัดเจน ทั้งสภาพผิวหนังรอบดวงตา เปลือกตา ขนตา ตาขาว กระจกตา ม่านตา และเลนส์แก้วตา เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติที่อาจก่อให้เกิดโรคทางตาและอาการตาพร่ามัวได้
  • การตรวจเลือด เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงจอประสาทตา รวมไปถึงตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีโอกาสเป็นโรคที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดภาวะตามัวหรือไม่ เช่น โรคเบาหวาน ไมเกรน ไซนัส เป็นต้น 

 วิธีแก้ตามัว โดยแนวทางการกินอาหารบำรุงสายตาพร่ามัว

วิธีแก้สายตาพร่ามัว

         วิธีแก้ตามัวนั้นสามารถทำได้ทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย โดยแนวทางการแก้ไขนั้นมีด้วยกันดังนี้

กินอาหารบำรุงสายตาพร่ามัว

         เพราะอาหารการกินคือสิ่งสำคัญของการบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง หากมีอาการตาพร่ามัวบ่อย แนะนำให้เลือกทานอาหารที่มีสารอาหารช่วยในการบำรุงสายตา 

  • พืชและผัก เลือกทานผักที่มีสาร Omega-3 ที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น แคร์รอต ผักโขม ดอกกะหล่ำ บรอกโคลี รวมไปถึงทานโปรตีนจากถั่วเพื่อช่วยในการชะลอความเสื่อมของดวงตา เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ เป็นต้น
  • เนื้อปลา ทานปลาทะเลอย่างปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล หรือปลาน้ำจืดอย่างปลาช่อน ปลาดุก ปลาสวาย ที่อุดมไปด้วยสาร Omega-3 ที่ช่วยบำรุงสายตาได้
  • ผลไม้ ทานผลไม้หลากสี เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี กีวี ส้ม และลูกพลับ ที่มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระและบำรุงสายตา

กินอาหารเสริมบำรุงสายตาพร่ามัว

         อีกหนึ่งวิธีแก้ตามัวสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงสายตาจากภายใน แต่ไม่สามารถเลือกทานอาหารได้ คือการทานอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงสายตา เป็นการทดแทนและเติมเต็มระบบในร่างกายที่ไม่สามารถผลิตสารบำรุงสายตาได้อย่างเต็มที่ โดยเลือกอาหารเสริมที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ มีส่วนผสมของบิลเบอร์รี ลูทีน และซีแซนทีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา สามารถชะลอการเกิดโรคทางตาบางชนิดได้

การบริหารกล้ามเนื้อรอบดวงตา

         วิธีแก้ตามัวโดยการบริหารกล้ามเนื้อรอบดวงตานั้น จะช่วยลดการโฟกัสที่มากเกินไป สร้างความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อตาที่อ่อนล้าได้ และยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อตาอีกด้วย สามารถบริหารกล้ามเนื้อตาอย่างง่ายๆ โดยการมองบน ล่าง ซ้าย ขวา สลับกันไป หรือกรอกสายตาเป็นวงกลม ก็จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อตาได้

ใช้น้ำตาเทียม

         น้ำตาเทียม คือ น้ำ สารหล่อลื่นดวงตาที่ประกอบไปด้วยสารที่ช่วยเติมเต็มความชุ่มชื้นในดวงตา เช่น carboxymethylcellulose, hydroxyethyl cellulose, hydroxypropyl methylcellulose และ dextran เป็นต้น สามารถใช้เพื่อลดการระคายเคืองในดวงตา แก้ปัญหาตาพร่ามัวที่เกิดจากตาแห้ง รวมไปถึงผู้ที่ตาพร่ามัวจากการผ่าตัดหรือทำเลสิกด้วย

การผ่าตัด

         สำหรับผู้ที่มีอาการตาพร่ามัว ที่มีสาเหตุมาจากการป่วยเป็นโรคทางตา เช่น โรคต้อกระจก ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตก สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดตานั้นต้องใช้ความละเอียดอ่อนอย่างมาก ต้องทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญและมีประสบการณ์เท่านั้น 

การผ่าตัดแก้อาการตาพร่ามัว จากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตก

ผ่าตัดแก้อาการตาพร่ามัวที่ Lovely Eye & Skin Clinic ได้ผลอย่างไร

         การผ่าตัดแก้อาการตาพร่ามัวที่ Lovely Eye & Skin Clinic สามารถผ่าตัดกับผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้

  • ต้อกระจก ทำการผ่าตัดโดยลอกเลนส์ตาที่ขุ่นมัวออก จากนั้นใส่แก้วตาเทียมเพื่อให้มองเห็นชัดขึ้น
  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำการผ่าตัดลงลึกถึงกล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์ เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กเหนือเบ้าตา ทำหน้าที่ยกเปลือกตาบนขึ้น ควบคุมการลืมตา เพื่อเสริมแรงให้กล้ามเนื้อตาสามารถยกเปลือกตาได้อย่างเต็มที่
  • หนังตาตก ทำการผ่าตัดหนังตาส่วนเกินออก และตกแต่งหนังตาให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม แก้ปัญหาหนังตาตกจนบดบังการมองเห็น
  • การรักษาอาการตาพร่ามัวด้วยการผ่าตัดนั้นจะต้องทำโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญ ซึ่งที่ Lovely Eye & Skin Clinic ใส่ใจในทุกเคสการรักษาเพื่อให้มีความปลอดภัยอย่างรอบด้าน พร้อมกับการผ่าตัดด้วยเทคนิคคุณหมอรวงข้าว ด้วยเทคนิคการผ่าตัดของคุณหมอรวงข้าว  ที่เสริมให้ผลลัพธ์การผ่าตัดออกมาดีและมีประสิทธิภาพ

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  • ปรึกษาแพทย์ พร้อมแจ้งโรคประจำตัว และยาที่ทานเป็นประจำ
  • หลีกเลี่ยงการทำศัลยกรรมทุกประเภทก่อนผ่าตัด 1 เดือน
  • งดใส่คอนแทคเลนส์ 3 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
  • งดทานอาหารเสริมทุกชนิดเป็นเวลา 2 สัปดาห์
  • งดติดสติกเกอร์ตาสองชั้น 1 สัปดาห์
  • H2: การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด
  • นอนยกศีรษะสูง และประคบเย็นเพื่อลดบวม
  • หลังผ่าตัดประมาณ 6 วัน ให้เปลี่ยนเป็นประคบร้อนเพื่อลดบวม
  • ระมัดระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ ความมัน และเหงื่อ ก่อนการตัดไหม
  • ลดการใช้สายตาในหน้าจอคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

แนวทางในการป้องกันสายตาพร่ามัว

         สำหรับผู้ที่กังวลว่าตัวเองจะเป็นภาวะสายตาพร่ามัว วิธีแก้และป้องกันนั้นสามารถปฏิบัติตามแนวทางได้ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด หรือแสงสว่างจ้า
  • สวมใส่แว่นกันแดดขณะออกแดด
  • สวมใส่แว่นกรองแสงสีฟ้า ขณะใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่คอนแทคเลนส์
  • ตรวจวัดค่าสายตาอย่างสม่ำเสมอ 1 ครั้งต่อปี

สรุป

         เรื่องสุขภาพตาเป็นสิ่งสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นภาวะสายตาพร่ามัวจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นตาบอดได้ หากรู้ ทราบถึงสาเหตุและหาวิธีแก้ตามัวโดยเร็ว ก็จะสามารถรักษาอาการตาพร่ามัวให้ดีขึ้น รวมไปถึงหาวิธีป้องกันและปรับพฤติกรรมไม่ให้เกิดภาวะตามัวขึ้นอีก เพียงเท่านี้ก็จะสามารถรักษาดวงตาที่แข็งแรงและชัดเจนไว้ได้