fbpx ตาแพ้แสงมีอาการอย่างไร ตาไวต่อแสงเกิดจากอะไร แก้ไขได้หรือไม่?

ตาแพ้แสงมีอาการอย่างไร ตาไวต่อแสงเกิดจากอะไร แก้ไขได้หรือไม่?

ตาแพ้แสงมีอาการอย่างไร ตาไวต่อแสงเกิดจากอะไร แก้ไขได้หรือไม่ ?

            อาการตาแพ้แสง ทำให้ดวงตาระคายเคือง แสบตา น้ำตาไหลเมื่อเจอแสง ซึ่งปัญหาตาแพ้แสงเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต จึงควรรีบทำการรักษาเพื่อให้สามารถกลับมามองเห็นได้ตามปกติ บทความนี้ทาง Lovely Eye and Skin Clinic จะพาไปทำความรู้จักว่าตาแพ้แสงคืออะไร? มีอาการแบบไหน? พร้อมหาวิธีแก้ไขอาการตาแพ้แสง เพื่อให้รู้จักวิธีการดูแลรักษาแบบถูกต้องไปพร้อมๆ กัน

Table of Contents

  1. ตาแพ้แสง คืออะไร
  2. ตาแพ้แสงเกิดจากอะไร
  3. ภาวะตาแพ้แสง มีอาการอย่างไร
  4. ภาวะตาแพ้แสง มีอาการอย่างไร
  5. วิธีตรวจตาแพ้แสง
  6. รักษาภาวะตาแพ้แสง ทำได้อย่างไร
  7. การดูแลดวงตาไม่ให้เสี่ยงต่อการเป็นภาวะตาแพ้แสง

ตาแพ้แสง คืออะไร

           ตาแพ้แสง หรือ Photophobia คือ อาการแสบตา ระคายเคืองบริเวณดวงตา เมื่อดวงตาต้องสัมผัสกับแสงต่างๆ เช่น ตาแพ้แสงแดด แสงไฟรถยนต์ แสงจากเปลวไฟ หรือแม้แต่แสงจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โดยอาการตาแพ้แสงนั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับผู้ที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน แล้วไม่ได้มีการหยุดพักสายตาระหว่างวัน หรือเป็นผู้ที่มีพันธุกรรมดวงตาสีน้ำตาลอ่อน จะมีปัญหาตาแพ้แสงมากกว่าผู้ที่มีดวงตาสีเข้ม เนื่องจากดวงตาสีอ่อนมีเม็ดสีที่น้อยกว่าดวงตาสีเข้มนั่นเอง

ตาแพ้แสงเกิดจาก การเพ่งอ่านหนังสือนาน จ้องหน้าจอนาน เกิดจากความผิดปกติของสายตา

ตาแพ้แสงเกิดจากอะไร

           ตาแพ้แสง เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งสาเหตุจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาก็สามารถทำให้เกิดภาวะตาแพ้แสงได้เช่นกัน โดยสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดภาวะตาแพ้แสง มีดังนี้

  • การเพ่งอ่านหนังสือเป็นระยะเวลานาน
  • การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานาน
  • เกิดจากความผิดปกติของสายตา เช่น สายตาสั้น ตาอักเสบ ตาติดเชื้อ เป็นต้น
  • การที่มีรูม่านตาขนาดใหญ่กว่าปกติ
  • การใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาทาสิว หรือยาแก้อักเสบบางชนิด
  • ผลจากการใส่คอนแทคเลนส์ที่มีขนาดไม่พอดีกับดวงตา
  • ผลข้างเคียงจากการทำเลสิค
  • ผลกระทบเพิ่มเติมจากโรคอื่นๆ เช่น โรคก้านสมองเสื่อม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

ภาวะตาแพ้แสง รู้สึกระคายเคืองตาอยู่บ่อยๆ หรี่ตา เมื่อตาโดนแสงจ้า

ภาวะตาแพ้แสง มีอาการอย่างไร

           ตาแพ้แสง เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้อาการภาวะตาแพ้แสงที่มักพบได้บ่อย มีดังนี้

  • รู้สึกระคายเคืองตาอยู่บ่อยๆ
  • หรี่ตา หรืออาจต้องหลับตาเมื่อตาโดนแสงจ้า
  • มีอาการแสบตา ตาแดง หรือมีน้ำตาไหลออกมา
  • มักกะพริบตาถี่ๆ เวลาตาโดนแสง
  • มีสารคัดหลั่งสีเขียว หรือเหลืองอ่อนไหลออกจากดวงตา

วิธีตรวจตาแพ้แสง

           สำหรับวิธีการตรวจตาแพ้แสงว่าเป็นอาการตาแพ้แสงหรือไม่ ทางจักษุแพทย์สามารถวินิจฉัยได้ด้วยวิธี ดังนี้

  • การตรวจตา เป็นวิธีพื้นฐานที่ใช้ตรวจโรคทางตาทั่วไป มักเริ่มจากการตรวจวัดค่าสายตาเพื่อวัดระดับการมองเห็น หากมีค่าสายตาผิดปกติก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคทางตาโรคอื่นๆ ตามมา
  • ตรวจตาด้วยเครื่อง Slit-Lamp เป็นการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูโครงสร้างของตาอย่างละเอียด สามารถส่องดูได้ตั้งแต่ด้านหน้าของลูกตา เปลือกตา จนถึงด้านในดวงตา โดยสามารถขยายภาพเพื่อตรวจดูดวงตาอย่างละเอียดได้มากกว่า 10-500 เท่า
  • ตรวจฟิล์มน้ำตา เป็นการตรวจดูทั้งคุณภาพและปริมาณของฟิล์มน้ำตา โดยปกติแล้วฟิล์มน้ำตาที่ฉาบอยู่บนผิวของดวงตาเรานั้นจะมีความหนาประมาณ 7.2 ไมครอน โดยผู้ที่มีฟิล์มน้ำตาบางมักเกิดอาการตาแพ้แสงได้ง่ายกว่าผู้ที่มีฟิล์มน้ำตาหนานั่นเอง
  • การทำ MRI Scan เป็นการตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อหาความผิดปกติของร่างกาย ในกรณีที่ผ่านการตรวจสอบด้วยวิธีอื่นมาแล้ว แต่ยังไม่พบสาเหตุของโรค โดยการทำ MRI Scan ทำขึ้นเพื่อตรวจหาความผิดปกติของร่างกายเชิงลึก เช่น การตรวจดูโรคของกระบอกตา การตรวจหาก้อนเนื้อบริเวณดวงตา เป็นต้น

ตาแพ้แสง ส่งผลกระทบอย่างไร

           อาการตาแพ้แสงส่งผลกระทบหลายด้าน ทั้งปัญหาด้านบุคลิกภาพ จนถึงปัญหาด้านการดำเนินชีวิต การที่มีอาการตาแพ้แสงส่งผลให้ดวงตาเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ อาจก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ที่มีความรุนแรงตามมา เช่น โรคต้อกระจก กระจกตาอักเสบ เยื่อบุม่านตาอักเสบ หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็น

อาการตาแพ้แสงแบบไหน ควรพบแพทย์ มีปัญหาในกาใช้ชีวิต แสบตา ตาอักเสบ หรือมีน้ำตาไหลบ่อยๆ

อาการตาแพ้แสงแบบไหน ควรพบแพทย์

           อาการตาแพ้แสงมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงระดับมาก บางคนมีอาการแพ้แสงเพียงเล็กน้อย ก็อาจรู้สึกว่าไม่ได้กระทบกับชีวิตอะไร แต่สำหรับผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการตาแพ้แสงให้เร็วที่สุด

  • ผู้ที่มีปัญหาตาแพ้แสงจนเกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ไม่สามารถขับรถในเวลาตอนกลางคืนได้ มีอาการปวดตาอยู่เสมอ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีอาการอื่นๆ ร่วมกับภาวะตาแพ้แสง เช่น มีอาการแสบตา ตาอักเสบ หรือมีน้ำตาไหลบ่อยๆ แนะนำให้เข้าพบจักษุแพทย์เพื่อหาสาเหตุเพิ่มเติม

รักษาภาวะตาแพ้แสง หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา ใส่แว่นสายตา ใช้ยารักษา

รักษาภาวะตาแพ้แสง ทำได้อย่างไร

           สำหรับการรักษาภาวะตาแพ้แสงนั้น สามารถรักษาได้หลายวิธีทั้งการรักษาด้วยตนเองด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือการใช้ยาร่วมด้วย โดยสามารถแบ่งวิธีการรักษาออกเป็น 3 วิธี ดังนี้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

           การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นวิธีการรักษาภาวะตาแพ้แสงรูปแบบหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยตนเอง แนะนำให้เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  • ผู้ที่ชอบสัมผัสบริเวณใบหน้า รอบดวงตาบ่อยๆ ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตา เพื่อลดโอกาสการระคายเคือง
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ทานอาหารที่มีวิตามิน A เพื่อบำรุงสายตา เช่น ตำลึง ฟักทอง ข้าวโพด มะละกอ มะม่วงสุก เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน ควรหาเวลาพักสายตาทุกๆ 15-20 นาที

สวมใส่แว่นสายตา

           การสวมใส่แว่นสายตาสามารถแก้ปัญหาตาแพ้แสงได้ แนะนำให้เลือกสวมแว่นตาที่เหมาะสมกับตนเอง ดังนี้

  • ผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติ ควรสวมแว่นตาที่มีค่าสายตาที่พอดีกับตนเอง
  • ผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้สายตาบ่อยๆ เช่น พนักงานออฟฟิศที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ ควรสวมแว่นกรองแสงสีฟ้าเพื่อรักษาดวงตา

ใช้ยาในการรักษา

           สำหรับการใช้ยาในกาดรรักษาตาแพ้แสง ควรเลือกใช้วิธีที่เหมาะสม ดังนี้

  • ใช้น้ำตาเทียม สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งบ่อยๆ สามารถหยอดน้ำตาเทียมระหว่างวันเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น
  • ใช้ยาหยอดตาเพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ วิธีนี้แนะนำให้เข้ารับการรักษากับจักษุแพทย์โดยตรงเพื่อหาสาเหตุของโรค และใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยหากมีอาการติดเชื้อ อาจต้องทานยาฆ่าเชื้อควบคู่กับการใช้ยาหยอดตา
  • ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดการอักเสบของเปลือกตา เช่น ยาปฏิชีวนะ Azithromycin, Doxycycline แนะนำให้เข้ารับการรักษากับจักษุแพทย์โดยตรงก่อนเช่นกัน ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง

การดูแลดวงตาไม่ให้เสี่ยงต่อการเป็นภาวะตาแพ้แสง

           สำหรับการดูแลดวงตาเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาแพ้แสงนั้น มีดังนี้

  • หากมีอาการตาแห้ง สามารถใช้น้ำตาเทียมหยอดตาระหว่างวัน เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน ควรพักสายตาระหว่างวัน
  • ควรสวมแว่นกันแดด หรือแว่นที่มีเลนส์ปรับแสงเพื่อถนอมสายตา หากต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง
  • ผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติแล้วต้องการใส่คอนแท็กต์เลนส์ ควรเลือกใช้คอนแท็กต์เลนส์ที่มีค่าอมน้ำสูง
  • ผู้ที่มีค่าสายตาผิดปกติ ควรสวมแว่นตาที่มีค่าสายตาเพื่อถนอมสายตา ลดการเพ่งเพื่อการมองเห็น
  • ผู้ที่มีอาการระคายเคืองง่าย ควรหลีกเลี่ยงการต่อขนตา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส แกะ เกาบริเวณรอบดวงตา เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
  • หากมีอาการตาแห้งบ่อยครั้งขึ้น แนะนำให้เข้าพบกับจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบอย่างละเอียด

สรุป

           ตาแพ้แสง เป็นภาวะที่มีการระคายเคืองของดวงตาเวลาที่สัมผัสกับแสง ซึ่งอาการตาแพ้แสงส่งผลกระทบส่งการดำเนินชีวิต และบุคลิกภาพ เนื่องจากผู้ที่มีอาการตาแพ้แสง มักกะพริบตาถี่ มีอาการน้ำตาไหล หรืออาจมีอาการตาแดงร่วมด้วย เพื่อป้องกันอาการเหล่านี้ ควรถนอมสายตา หมั่นพักสายตาหลังจากที่ต้องจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน หรือมองหาวิธีป้องกันดวงตาจากแสงแดด และมลภาวะ ด้วยการสวมแว่นกันแดด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตตามที่ได้แนะนำไป เพื่อรักษาดวงตาสุขภาพดีให้อยู่คู่เราไปนานๆ