fbpx ตาเบลอไม่โฟกัส สายตาอ่อนล้าระหว่างวันทำยังไงให้หาย เกิดจากอะไร

ตาเบลอไม่โฟกัส สายตาอ่อนล้าระหว่างวันทำยังไงให้หาย เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้ตาเบลอ ไม่โฟกัส เกิดจากรู้สึกปวดเบ้าตา ตามัวเฉียบพลัน ดวงตาอ่อนล้า เคืองตา

           ทุกวันนี้ สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น เราทุกคนต่างใช้สายตาจดจ่ออยู่กับสิ่งเหล่านี้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็น การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ การดูโทรทัศน์ หรือการใช้สมาร์ทโฟนที่มีแสงสว่างมากเกินไป จนอาจทำให้เกิด ตา เบลอ ไม่ โฟกัส ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยอำนวยความสะดวก แต่ถ้าหากเราใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานานมากเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อดวงตาของเราได้ และนำไปสู่โรคทางสายตาได้อีกด้วย

           อาการที่เกิดจากตา ไม่โฟกัส หรือ ตาโฟกัสไม่ได้ ที่พบได้บ่อย คือ รู้สึกปวดเบ้าตา ตามัวเฉียบพลัน ดวงตาอ่อนล้า ระคายเคืองตา ตาแห้ง แสบตา ตาแดง มีน้ำตาไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด อีกทั้งดวงตามีความไวต่อแสงมากขึ้น วันนี้ทาง Lovely Eye & Skin Clinic ได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนได้อ่านและลองสังเกตพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสาเหตุตา เบลอ ไม่ โฟกัส และ วิธี แก้ ดูแลรักษาอย่างไรบ้าง

Table of Contents

  1. สาเหตุหลัก
  2. สาเหตุที่ตาเบลอไม่โฟกัสจากโรคอื่นๆ
  3. วิธีป้องกัน และการดูแล
  4. คำถามที่พบบ่อย

สาเหตุหลัก

          สาเหตุหลักของอาการ ตา เบลอ ไม่ โฟกัส อาจจะเกิดได้จากภาวะความผิดปกติของดวงตา ปัญหาทางสายตา หรืออาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคต่างๆ ตั้งแต่ ตั้งแต่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา ไปจนถึงการติดเชื้อ หรือความเสื่อมตามวัย มาดูสาเหตุต่างๆของการเกิดอาการ ตา โฟกัส ไม่ ได้ ว่ามีอะไรบ้าง

โรคตาล้า (Asthenopia) เป็นภาวะดวงตาอ่อนล้าจากการใช้งานดวงตาอย่างหนัก

ตาล้า

          โรคตาล้า (Asthenopia) เป็นภาวะดวงตาอ่อนล้าจากการใช้งานดวงตาอย่างหนัก หรือมีการใช้สายตาเป็นเวลานาน มีระดับอาการที่ไม่รุนแรง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่โรคหรือภาวะความบกพร่องโดยตรง แต่อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก อาการทั่วไปของตาล้าประกอบด้วย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตา ปวดศีรษะ ตามัว บางครั้งมองเห็นภาพซ้อน ตา ไม่ โฟกัส มีอาการปวดตา ตาแดง และตากระตุกร่วมด้วย อีกทั้งยังรู้สึกระคายเคืองบริเวณดวงตาและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตาใขณะทำงานในสถานที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ 

ภาวะจากค่าสายตาที่ผิดปกติ

ภาวะจากค่าสายตาที่ผิดปกติ 

         โดยปกติการมองเห็นเกิดจากแสงตกกระทบที่ผิวกระจกตา แล้วเกิดการหักเห โฟกัสไปที่จอประสาทตาพอดี ภาพที่ที่มองเห็นจึงมีความชัดเจน ไม่ว่าในระยะใกล้หรือไกล ภาวะสายตาผิดปกติ เกิดจากความโค้งของกระจกตาที่มากหรือน้อยเกินไป ไม่พอดีกับขนาดความยาวของลูกตา ทำให้จอตาไม่โฟกัสกับแสงจากวัตถุ ภาวะสายตาผิดปกติมี 4 ประเภท

สายตาสั้น

  • เกิดจากลูกตายาวผิดปกติหรือกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ 
  • มองเห็นภาพในระยะใกล้ได้ชัดเจน 
  • มองเห็นไม่ชัดในระยะไกล 
  • มองเห็นเป็นภาพเบลอ

สายตายาว

  • เกิดจากขนาดของลูกตาสั้นเกินไปหรือกระจกตาแบนเกินไปมีความโค้งน้อย 
  • มองเห็นวัตถุระยะใกล้ไม่ชัด 
  • มองเห็นระยะไกลได้ชัดเจน

สายตาเอียง

  • เกิดจากกระจกตามีความโค้งไม่เท่ากัน 
  • มองเห็นวัตถุระยะใกล้และระยะไกลไม่ชัดเจน
  • มองเห็นเป็นภาพเบลอ ภาพซ้อนกัน

สายตายาวตามวัย

  • เป็นปัญหาด้านสายตาสำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • เลนส์ตาแข็งตัว สูญเสียความยืดหยุ่นและกล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพตามวัย 
  • มองเห็นระยะใกล้ได้ไม่ชัดเจน อย่างเช่น การอ่านหนังสือ การใช้โทรศัพท์ การขับรถ เป็นต้น

ค่าสายตาเปลี่ยน

  • เกิดจากความผิดปกติของสายตาที่ไม่สามารถหักเหแสงจากวัตถุที่มาโฟกัสตรงจอได้ 
  • มองเห็นวัตถุไม่ชัด ภาพเบลอ
  • สายตาเบลอ หรือ ตาไม่โฟกัส เป็นสาเหตุเริ่มต้นของภาวะสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง

สายตาพร่าเบลอหลังเลสิก

สายตาพร่าเบลอหลังเลสิก

          การมองเห็นอาจพร่ามัวหรือมัวทันทีหลังทำเลสิก หรือการผ่าตัดแก้ไขสายตาประเภทอื่นๆ สาเหตุเกิดจากบาดแผลผ่าตัดบริเวณกระจกตายังไม่สมานตัวกันดี ค่าสายตาใหม่ยังไม่เข้าที่ จนทำให้ ตา โฟกัส ไม่ ได้ โดยปกติแล้วความชัดเจนของสายตาจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน แต่อาจจะต้องใช้เวลามากกว่านี้เพื่อการมองเห็นอย่างสมบูรณ์

วุ้นในตาเสื่อม

ภาวะวุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration) เป็นได้เมื่ออายุมากขึ้น และผู้ที่สายตาสั้นมากวุ้นตาอาจเสื่อมเร็วกว่าปกติ หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณดวงตา วุ้นตาที่เสื่อมจะเหลวลง หดตัว และขุ่นขึ้น เมื่อแสงผ่านวุ้นตาที่เสื่อมจะหักเหทำให้เห็นเป็นเงาดำลักษณะเป็นจุดลอยไปลอยมาในสายตา

ยาหยอดตาและยารับประทาน

ยาหยอดตาบางชนิด มีสารกันบูดจนอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและ ตา เบลอ ไม่ โฟกัส นอกจากนี้ยาทานบางชนิด อาจะมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการและแห้งและตามัว เช่น ยาแก้แพ้ ยาแอนตี้ฮีสตามีน ยาความดันโลหิต หรือยาต้านซึมเศร้า จักษุแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาจะให้คำแนะนำว่ายาตัวใดที่อาจทำให้สายตาพร่ามัวได้

การใส่คอนแทคเลนส์ที่นานเกินไป

การใส่คอนแทคเลนส์ที่นานเกิดกว่าระยะที่กำหนด อาจทำให้สิ่งสกปรก เมือก โปรตีน หรือแร่ธาตุจะยิ่งก่อตัวสะสมบนเลนส์มากขึ้น นอกจากจะทำให้ ตา ไม่ โฟกัส แล้ว อาจะมีอาการเจ็บตา ตาแห้งร่วมด้วย และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ดวงตา

ตาแห้ง

เป็นโรคตาที่เกิดจากระบบต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติ ทำให้มีปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา หรือน้ำตาที่ผลิตออกมาไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งความชุ่มชื้นทำหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อ หากไม่เข้ารับการรักษาอาจทำให้เกิดการอักเสบที่กระจกตา เยื่อบุตา และเปลือกตา เมื่อระคายเคืองจนกระจกตาเป็นแผล อาจนำไปสู่ภาวะผิดปกติจนต้องผ่าตัดในที่สุด

ต้อกระจก ต้อหิน

ต้อกระจก เป็นอาการตามัวมองเห็นภาพไม่ชัด ตา โฟกัส ไม่ ได้ และเห็นแสงจ้าที่มาจากสาเหตุที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อายุที่มากขึ้น, เป็นแต่กำเนิด, เกิดจากโรคติดเชื้อในครรภ์, อุบัติเหตุ, โรเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, การรับรังสี หรือการขาดสารอาหาร เป็นต้น โดยการมองเห็นจะค่อยๆมัวลง รูม่านตาเป็นสีขาวขุ่น และเกิดอาการมองไม่ชัดในที่แสงจ้า

         ต้อหิน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของเส้นประสาท โดยมีอาการเริ่มสูญเสียการมองเห็นรอบขอบตา ลุกลามจนบีบเป็นวงแคบเข้ามาข้างใน ทำให้สายตาเห็นได้แคบกว่าปกติ จนสูญเสียการมองเห็นโดยสิ้นเชิง สาเหตุหลักเกิดจากความดันตาสูง หรือเกิดจากการใช้ยาจำพวก ยาสเตียรอยด์ ยาต้นซึมเศร้า ยาโรคทางจิตเภท และยารักษาโรคพาร์กินสัน เป็นต้น

สาเหตุที่ตาเบลอไม่โฟกัสจากโรคอื่นๆ

สาเหตุที่ตาเบลอไม่โฟกัสจากโรคอื่นๆ

การตั้งครรภ์

         การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างและความหนาของกระจกตาทำให้การมองเห็นพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด ตา เบลอ ไม่ โฟกัส และอาจร่วมกับการเห็นภาพซ้อน หรือตาแห้งจนตามัวก็สามารถพบได้บ่อยในระหว่างตั้งครรภ์ แม้ว่าสายตาพร่ามัวไม่ได้ร้ายแรง แต่ในบางกรณีอาจเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือความดันโลหิตสูง

เบาหวานขึ้นตา จอตาเสื่อม

         โรคจอตาเสื่อมจากเบาหวาน เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ส่งผลลุกลามไปที่ตาทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา ไม่ว่าจะเป็นตาพร่ามัว ตา โฟกัส ไม่ ได้ เห็นภาพซ้อน มองเห็นภาพได้แคบลง ไปจนถึงสูญเสียการมองเห็นซึ่งเป็นผลมาจากจอประสาทตาเสื่อม

โรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคทางระบบอื่น ๆ

         ตามัวมักเกิดจากเยื่อตาอักเสบร่วมกับการเห็นภาพซ้อนอาจจะเป็นภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดออกในสมอง และยังสามารถเป็นสัญญาณของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

วิธีป้องกัน และการดูแล

  1. พักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ทางอาหารบำรุงสายตา
  3. บริหารกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา
  4. หยอดน้ำตาเทียมอย่างสม่ำเสมอ
  5. ประคบดวงตาด้วยความเย็น 
  6. ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์
  7. พบจักษุแพทย์เมื่อเกิดอาการตาพร่ามัวเป็นเวลานาน เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง

คำถามที่พบบ่อย

Q : ลักษณะของอาการตา เบลอ ไม่ โฟกัสเป็นอย่างไร?

A : ลักษณะของอาการตา เบลอ ไม่ โฟกัสมีดังนี้ มองเห็นวัตถุเป็นภาพเบลอ, มองใบหน้าคนเป็นฝ้ามัว, สีภาพที่มองเห็นไม่สดใส สีจางลง, มองตัวหนังสือไม่ชัดเจน ,มองภาพแคบลง และตาไม่สู้แสง ทำให้ตามัวมองระยะไกลไม่ชัด

Q : อาการตา แบบไหนบ้างที่ควรเข้าพบแพทย์

A : ตามัว ตา โฟกัส ไม่ ได้ มองไม่ชัดรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ตามัวเหมือนเห็นหมอกอยู่ตลอดเวลา มองเห็นภาพซ้อน ปวดศีรษะขณะใช้สายตาในการเพ่งมองเป็นเวลานาน เป็นต้น

Q : ตามัวอันตรายไหม?

A : อาการตามัวเกิดจากหลากหลายสาเหตุ บางกรณีไม่เกิดอันตรายต่อบุคคลนั้น แต่ถ้าหากเป็นในกรณีที่เกิดจากโรคต่างๆ เช่น โรคทางตา  โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด หากไม่รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเกิดอันตรายจนสูญเสียดวงตา

สรุป

         จากบทความที่กล่าวข้างต้น อาการตามัว ตาเบลอไม่โฟกัส อาจเกิดจากอาการตาล้า ซึ่งเกิดจากการใช้สายตาจดต่ออยู่กับสิ่งหนึ่งเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ดวงตาเกิดความอ่อนล้า ระคายเคืองตา สายตาพร่ามัว เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาการตาล้าไม่ได้มีระดับความรุนแรงจนถึงชีวิต แต่ถ้าหากไม่เข้ารับการรักษาหรือปล่อยทิ้งไว้ มีโอกาสทำให้เกิดโรคทางตาได้ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม วุ้นตาเสื่อม เป็นต้น