fbpx กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นอย่างไร ทำไมปัจจุบันคนเป็นกันมาก

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร ทำไมปัจจุบันคนเป็นกันมาก

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นภาวะเปลือกตาตกหรือหนังตาตกหย่อนลงมากกว่าปกติ หมอรวงข้าวแก้ได้ 

           กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือ Ptosis เป็นภาวะเปลือกตาตกหรือหนังตาตกหย่อนลงมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากกล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลืมตาได้น้อย ลักษณะเปลือกตาบนจึงคลุมปิดตาดำมากเกินกว่าปกติ นอกจากจะมีผลด้านความสวยงามแล้ว ในบางรายหากเปลือกตาตกลงมากจนบังรูม่านตา จะมีผลต่อการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน คนยุคดิจิทัล ใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ จึงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ดวงตาอ่อนล้าได้ง่าย หากใครที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะยกหนังตาไม่ค่อยขึ้น ทำให้มีลักษณะตาปรือ กลายเป็นคนที่ดูง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย บางรายเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือบางรายอาจเป็นตอนอายุเพิ่มขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ยกเปลือกตามีอาการหย่อนยานหรือยืดจากการใช้งานบ่อย อาจเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ ทำให้ตาดูไม่เท่ากัน ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพอย่างเห็นได้ชัด ทำให้หลายคนต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

           นอกจากนี้ยังมีกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด MG (Myasthenia Gravis) ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้คนไข้มีอาการหนังตาตก ยิ้มได้น้อย หายใจลำบาก ลิ้นอ่อนแรง จนทำให้มีปัญหาในการพูด การเคี้ยว หรือการกลืน แขนขาอ่อนแรง ซึ่งหากเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด MG จะไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ แต่สามารถรักษาด้วยยา และควรพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง

Table of Contents

  1. โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร ?
  2. โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ส่วนใหญ่มีอาการ ดังนี้
  3. ระดับของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
  4. โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม หากปล่อยไว้ไม่รักษา ?
  5. วิธีการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
  6. รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงใช้เงินเท่าไหร่
  7. การเตรียมตัวในการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
  8. คำถามที่พบบ่อย

 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดจาก กรรมพันธิ์แต่กำเนิด แก้ไขโดยการทำตาสองชั้น ดึงกล้ามเนื้อตา                  

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร?

  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด

           เป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะดวงตาของเด็ก จะไม่มีรอยพับชั้นตา ลืมตาได้ไม่เต็มที่ เป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา หรือเกิดจากภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือมีความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง ทำให้เด็กมีภาวะหนังตาตกปิดตาดำมากกว่าปกติ ตาดูปรือ ลืมตาไม่ค่อยขึ้น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็ก อาจทำให้ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นน้อยกว่าอีกข้าง จากหนังตาตกทับดวงตา บังการมองเห็น ส่งผลให้สมองด้านนั้นไม่ได้รับการกระตุ้น จนอาจเกิดภาวะตาขี้เกียจและตาเอียงร่วมด้วย

  • กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในคนสูงวัย

           กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอายุเพิ่มขึ้น โครงสร้างผิวเปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อย กล้ามเนื้อเปลือกตาเสียความยืดหยุ่น จากการใช้งานเป็นเวลานาน ความแข็งแรงของเปลือกตาและกล้ามเนื้อยกเปลือกตาจะลดลง ออกแรงยกเปลือกตาได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตกทับตาดำมากกว่าปกติ จนเกิดปัญหาในการมองเห็น ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมติดเลิกคิ้ว และรอยย่นบริเวณหน้าผากตามมา

  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

           กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน หรือคนที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการพักสายตา จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือการใส่คอนแทคเลนส์ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาถูกยืดออก จนเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้

  • การผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาด

           การทำตาสองชั้น ด้วยวิธีผูกปมไหมไม่ละลายไว้ใต้ผิวตา ในบางกรณี อาจทำให้ปมไหมขวางการทำงานของกล้ามเนื้อตา ทำให้ดูตาปรือ รู้สึกระคายเคืองตา และยังเสี่ยงปมไหมหลุดออก จนทำให้เหลือตาสองชั้นเพียงข้างเดียว ส่งผลให้ชั้นตาดูไม่เท่ากัน นอกจากนี้หากผู้ผ่าตัดไม่ชำนาญพอ ยังอาจเกิดความผิดพลาดที่ร้ายแรง เช่น ทำตาสองชั้น แต่กลับผ่าตัดกระทบโดนกล้ามเนื้อตา จนส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เลยทีเดียว

  • การหลั่งสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ (โรค MG)

           โรค MG หรือ Myasthenia Gravis โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน สาเหตุจากร่างกายสร้างแอนติบอดี้บางชนิดขึ้นมายับยั้งหรือทำลายโปรตีน ที่มีบทบาทสำคัญในการรับสารอะซีทิลคอลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ที่อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ จนเกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยโรค MG คือ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา ทำให้เกิดภาวะหนังตาตก ลืมตาลำบาก กลอกตาผิดปกติ มองเห็นภาพซ้อน โฟกัสภาพไม่ได้ หากมองอย่างผิวเผิน อาการอาจคล้ายคลึงกับภาวะตาล้า ตาแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบกันมากในคนวัยทำงาน เพราะต้องใช้สายตาในมองหน้าจอคอมพิวเตอร์และจอโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานตลอดทั้งวัน จึงควรรับการวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โรค MG ไม่ได้ส่งผลเสียต่อการมองเห็นเท่านั้น แต่ยังอาจเกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนและหายใจ ทำให้เกิดภาวะกลืนลำบาก สำลักอาหารบ่อย และหายใจผิดปกติ เบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แล้วสงสัยว่าเข้าข่ายโรค MG ควรปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อประเมินอาการโดยเร็วที่สุด

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ส่วนใหญ่มีอาการ ดังนี้

           หนังตาตก จากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาจเป็นแต่กำเนิด หรือเป็นในภายหลังก็ได้ เด็กที่เป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่เกิด จะมีลักษณะตาตก ตาปรือตลอดเวลา เพราะกล้ามเนื้อตาเปิดตาออกแรงไม่เต็มที่ สังเกตได้จากขอบตาบนจะคลุมปิดตาดำมากกว่าปกติ ในบางรายอาจมีการมองเห็นผิดปกติ เพราะหนังตาตกทับดวงตาจนบดบังการมองเห็น ทำให้เด็กชอบเอียงคอ แหงนคอ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น อาจมีหนังตาตกข้างเดียว หรือสองข้าง ตาไม่เท่ากัน ชั้นตาไม่ชัดเจน ส่วนกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อตามาเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตายืดออก จนไม่สามารถออกแรงเปิดตาได้เต็มที่ เปิดเปลือกตาได้ไม่สุด ทำให้หนังตาตกปิดทับตาดำมากกว่าปกติ ดวงตาดูปรือ ดูง่วง ไม่สดใส ตาดูไม่เท่ากัน

  • ลืมตาไม่ขึ้น

         กล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์ เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กเหนือเบ้าตา ทำหน้าที่ยกเปลือกตาบนขึ้น ควบคุมการลืมตา หากเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง กล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์จะสูญเสียความแข็งแรง จนไม่สามารถออกแรงลืมตาได้เต็มที่ ลืมตายาก ลืมตาไม่ขึ้น หากมองปกติ ไม่พยายามเบิ่งตา ตาจะดูปรือ คล้ายคนอดนอน บางรายเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียว อาจทำให้ตาเปิดได้ไม่เท่ากัน ดูไม่สวยงาม และส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ

  • ปัญหาการเลิกคิ้ว

         กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้หนังตาตกทับตาดำบางส่วน หรือทับดวงตาดำมากจนปิดรูม่านตา ทำให้การมองเห็นลดลง จนเกิดภาวะติดการเลิกคิ้ว เลิกหน้าผาก แหงนคอ หรือเอียงคอ เพื่อชดเชยภาวะเปลือกตาออกแรงยกขึ้นได้ไม่เต็มที่ จากโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้เกิดปัญหาริ้วรอยบริเวณหน้าผาก ส่วนใหญ่คนที่มีปัญหาการเลิกคิ้ว อาจพบภาวะชั้นตาไม่เท่ากัน จากการเลิกคิ้ว เบิ่งตาบ่อยๆ ได้

  • ขยี้ตาบ่อย

         ขยี้ตาบ่อย จากการล้างเครื่องสำอางรุนแรงเป็นประจำ หรือจากอาการภูมิแพ้ ที่ทำให้เกิดอาการคันบริเวณเปลือกตา จนต้องขยี้ตาบ่อยๆ ส่งผลให้เปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อยมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อตายืดออก ชั้นตาอาจกลายเป็นสามชั้น หรือเปลือกตามีลักษณะรอยพับชั้นตาเป็นริ้วๆ ทำให้ดูตาปรือกว่าปกติ อาจเป็นเฉพาะดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ได้

ระดับของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง   

ลักษณะดวงตาของคนเราโดยปกติแล้ว ขอบตาบนจะคลุมปิดตาดำลงมาไม่เกิน 1-2 มิลลิเมตร แต่ถ้าหากมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถสังเกตจากระดับของขอบตาบนได้ดังนี้

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเริ่มต้น : หากขอบตาบน ปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 2 มิลลิเมตร

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับกลาง : หากขอบตาบน ปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 3 มิลลิเมตร

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับรุนแรง : หากขอบตาบน ปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 4 มิลลิเมตร

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม หากปล่อยไว้ไม่รักษา?

           คนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะทำให้หนังตาดูตก ตาปรือมากกว่าคนที่มีระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาเป็นปกติ อาจทำให้แต่งหน้าลำบาก ต้องใช้เวลานานในการแต่งรอบดวงตา เพื่อกลบจุดบกพร่อง อาจทำให้สูญเสียความมั่นใจในการเข้าสังคม เสียบุคลิกภาพ และอาจเป็นอุปสรรคในการทำงานบางอาชีพได้เลยทีเดียว

           หากเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียว หรือภาวะกล้ามเนื้อตาออกแรงได้ไม่เท่ากัน จะส่งผลให้ตาดูไม่เท่ากันตามไปด้วย จะเห็นว่าดวงตาข้างหนึ่งดูปรืออย่างชัดเจน ทำให้ใบหน้าโดยรวมขาดสมดุล ดวงตาดูไม่สวยงาม ส่งผลต่อโหงวเฮ้งของใบหน้า รวมไปถึงทำให้เจ้าของดวงตาสูญเสียความมั่นใจ
​​​​​

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียว หรือกล้ามเนื้อตาออกแรงไม่เท่ากัน

The result may vary depending on each person.
ผลลัพธ์การผ่าตัด แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

  • สำหรับคนที่มีลักษณะเบ้าตาลึก หากมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมด้วย จะทำให้ดวงตาปรือมากจนสังเกตได้ ทำให้เห็นลักษณะดวงตาเป็นร่องลึกเหนือชั้นตา ตาตก ตาลึก ส่งผลให้ใบหน้าดูโทรม อิดโรย ดูมีอายุ ทำให้ดูแก่ก่อนวัย หากได้ทำการแก้ไข จะช่วยให้บริเวณเบ้าตาลึกตื้นขึ้น ผิวเปลือกตาดูเต็ม ตาไม่ลึก ไม่ปรือ ทำให้ดวงตาดูสดใส อ่อนเยาว์

เบ้าตาลึก หากมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

The result may vary depending on each person.

ผลลัพธ์การผ่าตัด แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

  • เกิดอุปสรรคในการมองเห็น เพราะขอบตาที่อยู่ต่ำกว่าระดับปกติ จะปิดทับตาดำบางส่วน หรือหากขอบตาตกมากจนบังรูม่านตา อาจลดทอนประสิทธิภาพในการมองเห็น ทำให้ต้องพยายามเบิ่งตาเวลามอง จนทำให้ติดเลิกคิ้ว ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน บุคลิกภาพ ความสวยงาม และสุขภาพดวงตาในระยะยาว
  • มีริ้วรอยบริเวณหน้าผากมากขึ้น เพราะคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง อาจติดการเลิกคิ้ว จากการพยายามเบิ่งตาให้โตขึ้น เพื่อชดเชยภาวะเปลือกตาออกแรงได้ไม่เต็มที่ และเพื่อการมองเห็นที่ดีขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อหน้าผากต้องเคลื่อนไหวมาก จะทำให้เกิดริ้วรอยเกิดขึ้นมากกว่าปกติ หรือบางรายอาจถึงขั้นมีอาการปวดศีรษะเลยทีเดียว

วิธีการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยรูปแบบการผ่าตัดดึงกล้ามเนื้อตา เทคนิคหมอรวงข้าว การผ่าตัดแก้ตาสองชั้น เปิดหัวตา ดึงกล้ามเนื้อตา เทคนิคหมอรวงข้าว แก้ปัญหาตาตก ดูเศร้า

วิธีการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  1. บริหารกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยกลอกตาขึ้นบน แล้วลงล่าง กลอกตาไปทางขวา แล้วไปทางซ้าย ทำซ้ำ 2 รอบต่อวัน 
  2. ปรับโฟกัสดวงตา โดยการใช้ปากกาหรือนิ้วมือยื่นไปด้านหน้า ให้อยู่กึ่งกลางระหว่างดวงตาทั้งสอง และเลื่อนเข้าหาดวงตาช้าๆ เมื่อเห็นเป็นภาพซ้อนให้กลับไปเริ่มใหม่ ทำซ้ำ 20 รอบ วันละ 3 ครั้ง 
  3. *การบริหารกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ตามข้อ 1-2 เป็นประจำ ต่อเนื่องประมาณ 3 สัปดาห์ ช่วยลดอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า ตาอ่อนแรงได้ 
  4. แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยการผ่าตัดเพื่อปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา ด้วยการใช้ New Lovely Microlaser อุปกรณ์ผ่าตัดที่มีความแม่นยำและปลอดภัยสูง ช่วยให้เลือดออกน้อยระหว่างผ่าตัด และลดอาการบวมช้ำ หลังทำจะช่วยให้กล้ามเนื้อตาออกแรงเปิดตาได้เต็มที่ หายตาปรือ ตาตก ตาดูสดใสขึ้น

รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงใช้เงินเท่าไหร่

  • (กรณีทำร่วมกับตาสองชั้น) รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ราคาเริ่มต้น 295,000 บาท (โดยคุณหมอรวงข้าว)
  • (กรณีทำร่วมกับตาสองชั้น) รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ราคาเริ่มต้น 69,000 บาท (โดยทีมแพทย์หมอรวงข้าว)

การเตรียมตัวในการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  • งดอาหารเสริมทุกชนิด 2 สัปดาห์
  • งดการติดสติ๊กเกอร์ตาสองชั้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  • งดใส่คอนแทคเลนส์ก่อนผ่าตัด 3 สัปดาห์ จนถึงหลังผ่าตัด 3 สัปดาห์
  • หากมีอาการไอ หรือท้องผูก ควรแจ้งทางคลินิกล่วงหน้าประมาณ 3 วัน
  • แจ้งคุณหมอทราบล่วงหน้า ถึงโรคประจำตัว ประวัติแพ้ยา ประวัติการทำตา ว่าเคยทำตามาก่อนหรือไม่
  • หลีกเลี่ยงศัลยกรรมอื่นๆ ทุกประเภท ประมาณ 1 เดือน หรือการสักคิ้วที่ยังไม่แห้ง ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • นำบัตรประชาชนมาในวันผ่าตัดด้วย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

Q: แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ต่างกับ การทำตาสองชั้นอย่างไร?

การทำตาสองชั้น เป็นเทคนิคการสร้างรอยพับชั้นตา ให้โค้งรับกับดวงตาอย่างสวยงาม เป็นตาสองชั้นที่ดูเป็นธรรมชาติ มี 2 เทคนิคหลัก คือ เทคนิคกรีดตายาวเพื่อตัดหนังตาส่วนเกิน ช่วยแก้ปัญหาหนังตาเกิน ไขมันสะสมบริเวณเปลือกตาเยอะ ตาชั้นเดียว ตาเล็ก ตาหลบในจากภาวะหนังตาตกทับดวงตาและไขมันใต้เปลือกตา มีหางตาตก หรือทำตาสองชั้นที่อื่นมาแล้วต้องการแก้ตาสองชั้น และเทคนิคแผลเล็กไม่ตัดหนังตาส่วนเกิน ช่วยแก้ปัญหาตาเล็ก ตาหลบใน ตาชั้นเดียว ต้องการมีตาสองชั้น เหมาะกับคนที่มีผิวเปลือกตาบาง เนื้อเปลือกตาน้อย ไขมันเปลือกตาน้อย หลังทำตาสองชั้นจะช่วยให้ชั้นตาชัด ตากลมโต ดูเป็นธรรมชาติ ดวงตาดูสดใสขึ้น ส่วนการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นวิธีการผ่าตัดที่ลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ มีความซับซ้อนมากกว่าการผ่าตัดตาสองชั้น เพื่อปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตา ให้สามารถเปิดตาได้ดีขึ้น แก้ปัญหาตาปรือ จากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาคนละส่วนกัน แต่นิยมทำร่วมกับการทำตาสองชั้น เพื่อทำการตกแต่งหนังตาส่วนเกินออก และเย็บชั้นตาให้สวยงาม ทำให้ชั้นตาชัดเจน ตาดูกลมโต สดใส

Q : หากทำตาสองชั้น โดยไม่แก้ไขโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะเกิดอะไรขึ้น?

การทำตาสองชั้นแบบปกติ โดยไม่ได้ทำร่วมกับการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ช่วยแก้ปัญหาหนังตาตกในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะยังไม่ได้รับการแก้ไข อาจได้ผลลัพธ์ดีในเคสที่มีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ดวงตาอาจจะยังคงดูปรือ ตาไม่เท่ากัน ชั้นตาดูใหญ่กว่าที่ต้องการ แต่หากทำตาสองชั้น ร่วมกับการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะช่วยแก้ปัญหาตาปรืออย่างตรงจุด โดยมีการผ่าตัดลงลึกถึงระดับกล้ามเนื้อตา ให้สามารถออกแรงลืมตาได้เต็มที่ ตาไม่ปรือ ชั้นตาสวยคมชัด ขนาดชั้นตาพอดี ชั้นตาไม่ใหญ่ ไม่ดูหนา ตาไม่ลึก ไม่ซ้อนเป็นตาหลายชั้น

Q : รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่ไหนดี? 

การแก้ไขปัญหา “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” เป็นการแก้ปัญหาตาอย่างลงลึกถึงระดับกล้ามเนื้อตา โดยการทำตาสองชั้น ร่วมกับการดึงกล้ามเนื้อตา ซึ่งเป็นการผ่าตัดกล้ามเนื้อมัดเล็กที่มีความบอบบางเป็นอย่างมากคล้ายกับ wrap ที่ใช้ห่อหุ้มอาหาร ซึ่งมีเพียงแพทย์ที่มีความชำนาญและเข้าใจโครงสร้างของเปลือกตาอย่างลึกซึ้งเท่านั้นที่จะสามารถทำการผ่าตัดให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นได้อย่างถูกวิธี และในระยะยาว ตาจะไม่กลับมาตกซ้ำ จึงควรเลือกคลินิกที่มีมาตรฐาน มีความน่าเชื่อถือ แพทย์ผู้ผ่าตัดต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา มีประสบการณ์และความชำนาญในการรักษาตาด้วยเทคนิคเฉพาะทางโดยตรง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและการแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอย่างตรงจุด

Q : การผ่าตัดดึงกล้ามเนื้อตา เหมาะกับใครบ้าง?

  • คนที่มีอาการตาปรือ ลืมตาได้ไม่เต็มที่
  • คนที่มีลักษณะเบ้าตาลึก ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • คนที่ตาสองข้างไม่เท่ากัน
  • คนที่ต้องใช้การเลิกคิ้วเพื่อช่วยในการเบิ่งตาบ่อยๆ

Q : รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแล้ว ช่วยให้ตาโตขึ้น จริงไหม?

การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ช่วยปรับระดับการเปิดตาให้พอดีและเท่ากันทั้งสองข้าง ส่งผลให้ตาดูเท่ากัน ตาดูเปิดขึ้น เห็นดวงตาดำในระดับที่พอเหมาะ ตาไม่เบิ่งจนเกินไป ไม่ทำให้ตาดุ ไม่มีปัญหาชั้นตาซ้อนกันเป็นตาสามชั้น ตาดูสดใส ลืมตาได้เต็มที่โดยไม่ต้องพยายามเลิกคิ้ว ตาดูโตขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ หากทำร่วมกับการทำตาสองชั้น ช่วยให้ชั้นตาคมชัด ไม่มีหนังตาเกิน ตาไม่ปรือ ตากลมโตสดใส ในระยะยาว ตาจะไม่กลับมาตกซ้ำ