fbpx 3 สาเหตุของภาวะตาขี้เกียจ อาการ และการรักษา

3 สาเหตุของภาวะตาขี้เกียจ

ตาขี้เกียจ หรือ Lazy Eye

           ตาขี้เกียจ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Amblyopia หรือ Lazy Eye เป็นภาวะตาพร่ามัว จากความผิดปกติทางสายตาที่มักพบในเด็ก เกิดจากการส่งสัญญาณข้อมูล รูปภาพระหว่างดวงตากับสมองทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือทำงานไม่ประสานกัน ทำให้สมองรับภาพจากดวงตาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าดวงตาอีกข้าง เมื่อเวลาผ่านไป ดวงตาข้างที่ทำงานได้น้อย จะมีการมองเห็นที่ลดลง หรือมองภาพได้ไม่ชัดเจน ซึ่งหากไม่ได้ทำการรักษาตั้งแต่เด็ก อาจส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงอย่างถาวร ตาขี้เกียจ สามารถเป็นได้ตั้งแต่แรกเกิด ในเด็กเล็ก หรือวัยอื่นๆ ได้ทุกเพศทุกวัย แต่สามารถป้องกันและรักษาได้ หากทำการรักษาอย่างต่อเนื่องจนหาย จะทำให้เด็กเติบโตมามีสายตาเป็นปกติ พ่อแม่หรือผู้ปกครองของเด็ก จึงควรตรวจสอบการมองเห็นของบุตรหลานอย่างสม่ำเสมอ หากเจอความผิดปกติ จะได้รักษาได้ทันที

Table of Contents

  1. สาเหตุของภาวะตาขี้เกียจ
  2. อาการของตาขี้เกียจ
  3. วิธีการรักษาตาขี้เกียจ

 

สาเหตุของภาวะตาขี้เกียจ

1. ตาเหล่ ตาเข

           เป็นภาวะความผิดปกติของดวงตา ที่ดวงตาทั้งสองข้างทำงานไม่ประสานกัน ไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน อาจมีดวงตาข้างหนึ่งที่มองตรง และดวงตาอีกข้างเฉไปทิศทางอื่น อาจจะเฉขึ้นด้านบน เฉลงด้านล่าง เฉไปด้านหัวตา หรือเฉไปด้านหางตามากกว่าปกติ สามารถเป็นได้ตลอดเวลา หรือเป็นเพียงชั่วคราว อาจเกิดจากพันธุกรรม ความผิดปกติของกล้ามเนื้อกลอกลูกตา ความผิดปกติของประสาทส่วนกลาง เป็นต้น คนที่มีอาการตาเหล่ หรือตาเข มักจะใช้ตาข้างที่มองตรง เพื่อไม่ให้เกิดภาะการมองเห็นภาพซ้อน จึงทำให้กล้ามเนื้อตาอีกข้างไม่ได้ใช้งาน เมื่อเวลาผ่านไป จะทำให้การมองเห็นลดลง

สายตาผิดปกติ

2. สายตาผิดปกติ

- สายตาผิดปกติ ที่ทั้งสองข้างต่างกันมาก

           สายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง โดยที่ทั้งสองข้างมีค่าสายตาที่แตกต่างกันมาก เช่น สายตาข้างหนึ่งปกติ แต่สายตาอีกข้างอาจมีอาการสายตาสั้น 300 จึงมีเพียงตาข้างเดียวที่ยังมองเห็นได้ดีอยู่ ทำให้หลายคนไม่ทราบว่าตนเองมีสายตาผิดปกติ จึงไม่ได้ทำการรักษา หรือสวมแว่นสายตา ทำให้ตาข้างที่ปกติต้องถูกใช้งานอย่างหนัก ทดแทนในส่วนของตาข้างที่ใช้การได้ไม่ปกติ ทำให้ข้างที่ไม่ได้ใช้งานหรือใช้งานน้อย กลายเป็นตาขี้เกียจได้   

- สายตาผิดปกติรุนแรง

           สายตาที่ผิดปกติมาก เช่น สายตาสั้นมาก สายตายาวมาก หรือสายตาเอียงมาก ทำให้การมองเห็นของสายตาทั้งสองข้างไม่ชัดเจน จึงมีโอกาสเกิดภาวะตาขี้เกียจได้ทั้งสองข้าง

 

3. มีภาวะหรือโรคทางตาที่บดบังการมองเห็น

ต้อกระจก เป็นภาวะที่ทำให้แสงเข้าสู่ตาได้ไม่ปกติ 

- โรคต้อกระจก เป็นภาวะที่ทำให้แสงเข้าสู่ตาได้ไม่ปกติ 

หนังตาตก

- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือหนังตาตก ที่ทำให้หนังตาหย่อนลงมาปิดทับตาดำ จนทำให้การมองเห็นแย่ลง มองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน มีอาการภาพมัว ภาพเบลอ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่ภาวะตาขี้เกียจได้เช่นกัน

 

อาการของตาขี้เกียจ

  • ชอบดูโทรทัศน์ในระยะใกล้
  • มีการเพ่งมองมากกว่าปกติ 
  • เดินชนวัตถุ สิ่งของหรือเกิดอุบัติเหตุบ่อยๆ 
  • มักมีอาการหรี่ตามอง หรือเอียงศีรษะเป็นประจำ
  • มีอาการตาเหล่ ตาเข 
  • หนังตาตก
  • มีจุดขาวในตาดำ
  • มองไม่ค่อยชัดในที่มืด

           หากเด็กมีอาการเหล่านี้ อาจมีแนวโน้มของการมีภาวะตาขี้เกียจ พ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงควรรีบพาบุตรหลานไปพบจักษุแพทย์ แต่ใช่ว่าเด็กที่เป็นตาขี้เกียจจะแสดงอาการตามนี้ทุกคน เพราะเด็กบางคนทีสายตาสั้นข้างเดียว อาจไม่แสดงอาการ

 

วิธีการรักษาตาขี้เกียจ

ตาขี้เกียจ รักษาโดยการปิดตา

1. รักษาโดยการปิดตา

             กรณีเกิดอาการตาขี้เกียจ ด้วยสาเหตุของอาการตาเหล่ ตาเข ต้องทำการกระตุ้นตาข้างที่ทำงานน้อย โดยทำการปิดตาข้างที่ทำงานได้ดีสักระยะหนึ่ง ด้วยแว่นที่ใช้สวมเพื่อบำบัดโรคตาขี้เกียจโดยเฉพาะ หรือผ้าปิดตาขี้เกียจ หรือพลาสเตอร์ปิดตาขี้เกียจ เพื่อให้ดวงตาข้างที่ทำงานได้น้อยกว่าเกิดการใช้งานมากขึ้น ส่งผลให้ดวงตาข้างที่ทำงานน้อยเกิดพัฒนาการทางการมองเห็นเท่ากับดวงตาอีกข้าง ช่วยแก้ไขให้ดวงตากลับมาเป็นปกติได้

2. สวมแว่นสายตา

           กรณีที่มีความผิดปกติทางสายตา ไม่ว่าจะเป็นทั้งสองข้าง หรือเป็นเพียงข้างเดียว ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย ควรรีบตัดแว่นสายตา เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน และช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางการมองเห็นได้

3. ทำการผ่าตัด

           โรคทางตาที่ทำให้การมองเห็นลดลงในหลายๆ โรค เช่น โรคต้อกระจก ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือหนังตาตก ที่ต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อรักษาให้ดวงตากลับมามองเห็นได้เป็นปกติ

- ผ่าตัดต้อกระจก ทำเพื่อลอกเลนส์ตาในส่วนที่ขุ่นออก เพื่อใส่เลนส์แก้วตาเทียม ซึ่งจะเกิดเพียงแผลขนาดเล็กเท่านั้น

รีวิวเคสแก้ตา ดึงกล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์ พร้อมเปิดหัวตา

ภาพรีวิวเคสแก้ตา ดึงกล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์ พร้อมเปิดหัวตา โดยก่อนทำลูกค้าเคยทำตาสองชั้นมาแล้ว 
แต่ดวงตามีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ตาปรือจนกลายเป็นตาสามชั้น หัวตาปิด ทำให้ตาดูเศร้า ไม่สดใส 
หลังทำตาดูโต ชั้นตาคมชัด ไม่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หัวตาเปิดเต็มที่ ทำให้ตาเรียวยาว ดูสดใสขึ้น   

The result may vary depending on each person.
ผลลัพธ์การผ่าตัด ทำตาสองชั้น แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถแก้ไขโดยการผ่าตัดดึงกล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์ ซึ่งเป็นการผ่าตัดลงลึก เพื่อเพิ่มระดับความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อตา สามารถออกแรงยกเปลือกตาได้เต็มที่ หากทำร่วมกับการทำตาสองชั้นจะช่วยให้ดวงตาโต สดใส ไม่มีอาการตาปรือ หรือตาออกแรงได้ไม่เต็มที่ แก้ปัญหาเปลือกตาตกปิดทับตาดำได้อย่างตรงจุด

- หนังตาตก จากหนังตาเกินหรือไขมันส่วนเกิน จนทำให้หนังตาตกทับตาสองชั้น หรือหากเป็นหนัก อาจถึงขั้นหนังตาตกทับตาดำ จึงมีผลต่อการมองเห็น สามารถแก้ไขด้วยการผ่าตัดทำตาสองชั้น โดยตกแต่งเนื้อส่วนเกินที่ตกทับชั้นตา เพื่อให้เปลือกตาที่ตกถูกยกขึ้น แก้ปัญหาหนังตาตกปิดทับตาดำได้เป็นอย่างดี